หลายคนที่เล่น Arduino เมื่อถึงจุดๆหนึ่งจะมีความต้องการให้ สิ่งแวดล้อมที่ตนเขียนนั้นออกสู่โลกของ ระบบ lan ในบ้าน แล้วจะต่ออินเตอร์เนต ก็ทำการค้นหาใน google
ด้วยความราคาค่าตัวที่มีความรู้สึกว่า เอะ ทำไมมันแพงพอๆกับ arduino UNO เลยก็จะพยายามไปเรื่อยจนมาพบกับ ESP8266 (ESP-01) และตกลงปลงใจว่าจะเลือกใช้ พอได้มาใช้ก็จะพบปัญหาต่างๆ มากมายเช่น ต้องใช้ AT command ระบบแหล่งจ่ายไฟที่ต้องมีความเสถียรภาพมากๆ (แล้ววงจรมันเป็นอย่างไรหล่ะ)
ส่วนใหญ่ ก็จะล้มเลิกการเขียน AT command ไป แต่ด้วยความเสียดายก็พยายามศึกษาต่อจนมาพอวิธีที่ สามารถเขียนได้ด้วย Arduino IDE
AT command (http://rancidbacon.com/files/kiwicon8/ESP8266_WiFi_Module_Quick_Start_Guide_v_1.0.4.pdfJ)
มาถึงจุดนี้ก็จะพบกับ ESP family มากมาย และมันก็จะเจอความยุ่งยากไปอีกขั้น มันจะต้องมีวงจรเพื่อ flash มี USB to TTL เพื่อเป็นช่องทางการติดต่อ ตรงนี้คนที่พอมีความรู้ด้าน อิเล็คทรอนิกค์พื้นฐาน คงไม่มี ปัญหาอะไร แต่สำหรับคนไม่มีความรู้หล่ะ ลำพังแค่ ไมโครสวิทช์ มันคืออะไร ไม่มีแล้วเอาอะไรแทน ก็มึนแล้ว จะ ต้องไปซื้ออุปกรณ์พวกนี้จากไหน มันไม่ได้ซื้อจากร้านเดียวแล้วจบ
ESP8266 Versions (http://randomnerdtutorials.com/getting-started-with-esp8266-wifi-transceiver-review/)
วงจรสำหรับ Flash Program (http://nutdiy.blogspot.com/2015/09/how-to-flashesp8266-esp-01-on-arduino.html)
นี่แหล่ะ ปัญหาถ้าอดทนหาต่อ จะเห็นชื่อ NodeMcu ปรากฎเข้ามา แล้วมันคืออะไรหล่ะ NodeMcu ชื่อเต็มๆก็คือ NodeMcu DeV kit ซึ่งปัจจุบัน (วันที่เขียนบทความ 9/01/16) มีออกมา 2 Version
ได้แก่ 0.9 และ 1.0 เป็น Platfrom ที่รวมเอาวงจรการ flash และ ESP8266 เข้ามาไว้ในตัวเดียว สามารถเขียนด้วย ภาษา Lua และมีกลุ่มผู้คนกลุ่มหนึ่งเอา SDK มาพัฒนาให้สามารถ C++ บน arduino IDE ได้ ทำให้เราสะดวกมากขึ้น
สรุปข้อดีทาง Hardware NodeMcu Dev Kit ดังนี้
1. ไม่ต้องประกอบวงจรให้ยุ่งยาก
2. สามารถใช้กับไฟ 5V จาก USB ได้ทันที
3. มี GPIO ครบทุกรูปแบบที่ arduino UNO มี
เมื่อคุณเขียน arduino เป็นแล้ว ทำไมไม่ลองมาเล่น NodeMcu Dev Kit บ้างหล่ะ
NodeMcu Dev Kit 0.9
NodeMcu Dev Kit 1.0
PinMap (https://github.com/nodemcu/nodemcu-devkit-v1.0)