สอน Flowchart : บทที่ 1 สัญลักษณ์ Flowchart (ผังงาน)

บทเรียนออนไลน์ #164
เขียนโดย :
มีผู้อ่าน : 84,070 คน วันนี้ : 10 คน

สวัสดีครับ น้องๆ ที่กำลังเริ่มต้นเขียนโปรแกรมทุกๆ ท่านครับ มีหลายๆ ท่านๆ ถามเข้ามาบ่อยมากว่า " อยากเริ่มต้นเขียนโปรแกรม ต้องทำยังไงบ้าง ? " แล้วผมก็จะตอบเสมอว่า " ต้องเริ่มจากแนวคิดและอัลกอริทึมครับ " เพราะในความเห็นผมหลักการคิดและอัลกอริทึม ทำให้เราสามารถมองภาพ มองวิธีการแก้ปัญหาออก นำพาไปสู่การ " เขียนโปรแกรมที่ถูกต้อง " ได้นั่นเองครับ

เอาล่ะเกริ่นกันมาพอสมควรแล้วในบทความชุด Flowchart นี้เราจะมาเริ่มต้นรู้จักกับ " Flowchart " เครื่องมือตัวแรกที่จะช่วยให้เราสามารถ สร้างสรรค์อัลกอริทึมเพื่อนำมาเขียน Source Code ได้อย่างถูกต้อง ไร้ Error ครับ ! 

 

Flowchart (ผังงาน) คือ

แผนภาพที่ใช้สำหรับ ลำดับขั้นตอนและวิธีการทำงานของโปรแกรม แบบเป็นลำดับโดยการทำงานจะเริ่มจากจุดเริ่มต้น (Start) ไปยัง จุดสิ้นสุด (Stop) ของโปรแกรม ซึ่งเราสามารถใช้ Flowchart เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบอัลกอริทึมด้วยวิธีการ ไล่โปรแกรม (Tracing) เพื่อหา ข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Bug) ของโปรแกรมได้อีกด้วย 

ซึ่งในบทนี้เราจะมาพูดถึงพื้นฐานแรกของ Flowchart กันครับนั่นคือ สัญลักษณ์ของ Flowchart (ผังงาน) นั่นเอง ซึ่ง Flowchart ที่ผมจะเขียนในบทความชุดนี้จะเป็น Flowchart ที่ผมใช้ประจำและใช้งานจริงในการออกแบบโปรแกรม อาจจะไม่เหมือนในแหล่งข้อมูลอื่นๆ นะครับ แต่น้องๆ สามารถนำ Flowchart ในแบบของผมไปปรับเปลี่ยนสัญลักษณ์ให้เข้ากับสัญลักษณ์ที่น้องๆ เองได้ไม่ยากครับ เพราะฉะนั้นบทความนี้ น้องๆ จำสัญลักษณ์ทั้งหมดในบทนี้ให้ได้แค่นั้นเองครับ ง่ายๆ ใช่ไหมล่ะ !

 

สัญลักษณ์ ชื่อเรียก ความหมาย
สัญลักษณ์ Flowchart (ผังงาน) , จุดเริ่มต้น (Start) , จุดสิ้นสุด (Stop) จุดเริ่มต้น (Start) , จุดสิ้นสุด (Stop) ใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโปรแกรม
สัญลักษณ์ Flowchart , การแสดงผล (Output) , การรับค่า (Input) การแสดงผล (Output) , การรับค่า (Input) ใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการแสดงผลและการรับค่า
สัญลักษณ์ Flowchart , การประมวลผล (Process) การประมวลผล (Process) ใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการประมวลผลข้อมูล
สัญลักษณ์ Flowchart , การตัดสินใจ (Decision) การตัดสินใจ (Decision) ใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการตัดสินใจ
สัญลักษณ์ Flowchart , จุดเชื่อมต่อ (สำหรับ Do Loop) จุดเชื่อมต่อ (สำหรับ Do Loop) ใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับ Do Loop
สัญ,ักษณ์ Flowchart , เส้นเชื่อม (Flow Line) เส้นเชื่อม (Flow Line) ใช้เป็นเส้นเชื่อมลำดับการทำงาน จากสัญลักษณ์หนึ่งไปยังอีกสัญลักษณ์หนึ่ง

 

เป็นยังไงครับ บทความแรก แค่จำสัญลักษณ์ทั้งหมดนี้ให้ได้ แค่นั้นเองครับไม่ยากเลย เมื่อจำได้ทั้งหมดแล้ว เราจะมาต่อด้วย วิธีใช้สัญลักษณ์ Flowchart ทั้ง 6 ตัวนี้กันในบทต่อๆ ไปครับ ใครที่สนใจเรื่องการเขียนโปรแกรม อยากเริ่มต้นเขียนโปรแกรมก็เข้ามาพูดคุยกันได้ครับที่ Fanpage TUTORTONG สอนเขียนโปรแกรมครับ เขียนโปรแกรมไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าอัลกอริทึมและวิธีคิดได้ ไม่ว่าภาษาโปรแกรมไหนๆ ก็สามารถเขียนได้ครับ ^^

 

สิ่งที่คุณจะทำได้หลังจากอ่านบทความนี้
- คุณจะรู้จักกับ สัญลักษณ์ Flowchart (ผังงาน)

 

สำหรับน้องๆ คนไหนอยากเรียนรู้เรื่อง Flowchart ไวๆ อยากเริ่มต้นเขียนโปรแกรมได้ภายใน 1 วัน ! ทาง TUTORTONG สอนเขียนโปรแกรม มีคอร์ส Flowchart และ อัลกอริทึม สำหรับผู้เริ่มต้น สำหรับน้องๆ ที่สนใจครับผม สนใจคลิกดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ TUTORTONG คอร์ส Flowchart และ อัลกอริทึม