สอน Flowchart : บทที่ 4 โครงสร้างควบคุม (Control Statement) แบบเป็นลำดับ (Sequence Control Statement)

บทเรียนออนไลน์ #198
เขียนโดย :
มีผู้อ่าน : 13,813 คน วันนี้ : 2 คน

สวัสดีครับ มาพบกันอีกบทความกับ สอน Flowchart โดย TUTORTONG สอนเขียนโปรแกรมกันครับ โดยในบทนี้เราจะมาเรียนรู้ และรู้จักกับ โครงสร้างควบคุม (Control Statement) พื้นฐานที่สุด นั่นคือ โครงสร้างควบคุม แบบเป็นลำดับ หรือ Sequence Control Statement นั่นเองครับ

 

โครงสร้างการควบคุม แบบเป็นลำดับ (Sequence Control Statement) คือ

โครงสร้างการทำงาน ที่มีรูปแบบการไหล (Flow) ไปใน ทิศทางเดียว จาก คำสั่งหนึ่ง ไปยัง อีกคำสั่งหนึ่ง ตามลำดับ (มองภาพง่ายๆ จาก 1 ไป 2 ไป 3 ครับ)

 

 

ตัวอย่าง โครงสร้างการควบคุม แบบเป็นลำดับ (Sequence Control Statement) 

 

ตัวอย่างที่ 1 

ตัวอย่างการเขียน Flowchart ด้วยโครงสร้างควบคุม แบบเป็นลำดับ โดยเขียน Flowchart เพื่อลำดับการทำงานของโปรแกรมที่เขียนด้วย ภาษา C++

 

สอน Flowchart : บทที่ 4 โครงสร้างควบคุม (Control Statement) แบบเป็นลำดับ (Sequence Control Statement)


 

จาก Flowchart นี้ ลำดับการทำงาน จะเป็น ดังนี้

1) Start เริ่มต้นโปรแกรม
2) int a = 1; ทำการประกาศตัวแปร ชื่อ a เป็น ประเภทจำนวนเต็ม และ กำหนดค่าเริ่มต้นเป็น 1
3) int b = 1; ทำการประกาศตัวแปร ชื่อ b เป็น ประเภทจำนวนเต็ม และ กำหนดค่าเริ่มต้นเป็น 1
4) cout << a; แสดงผล ข้อมูลที่เก็บไว้ใน ตัวแปร a
5) cout << b; แสดงผล ข้อมูลที่เก็บไว้ใน ตัวแปร b
6) b = b + 1; นำ ข้อมูลที่เก็บไว้ใน ตัวแปร b บวกกับ 1 ได้ผลลัพธ์เท่าไร ก็เก็บลงใน ตัวแปร b
7) Stop จบการทำงานของโปรแกรม


 

ตัวอย่างที่ 2

ตัวอย่างการเขียน Flowchart ด้วยโครงสร้างควบคุม แบบเป็นลำดับ โดยเขียน Flowchart เพื่อลำดับการทำงานของอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ระบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย LED , Motor 

 

สอน Flowchart : บทที่ 4 โครงสร้างควบคุม (Control Statement) แบบเป็นลำดับ (Sequence Control Statement)


 

จาก Flowchart นี้ ลำดับการทำงาน จะเป็น ดังนี้

1) Start เริ่มต้นโปรแกรม
2) Open Led_1 ทำการเปิดหลอด LED ดวงที่ 1
3) Start Motor_1 ทำการหมุนมอเตอร์ ตัวที่ 1
4) Delay 10 Sec ทำการรอ 10 วินาที
5) Stop Motor_1 ทำการหยุดมอเตอร์ตัวที่ 1
6) Close Led_1 ทำการปิดหลอด LED ดวงที่ 1
7) Stop จบการทำงานของโปรแกรม

 

เป็นยังไงบ้างครับกับ โครงสร้างควบคุม แบบเป็นลำดับ (Sequence Control Statement) ไม่ยากใช่ไหมครับ เพราะเป็นแค่การเรียงลำดับ จากคำสั่งหนึ่ง ไปอีก คำสั่งหนึ่ง เท่านั้นเอง หรือ พูดง่ายๆ จาก Start ทำงานไปเรื่อยๆ กระทั่ง Stop นั่นแหละครับ 

และในบทต่อไป เราจะมาพบกับอีก โครงสร้างควบคุม ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการเขียนโปรแกรมอีกโครงสร้าง กับ โครงสร้างการทำงาน แบบมีเงื่อนไข (Selection Control Statement) ระดับความยาก ก็จะเพิ่มขึ้นมาอีกนิดนึงครับ แต่ไม่ยากเกินความสามารถของทุกๆ ท่าน แน่นอนครับ

 

สิ่งที่คุณจะทำได้หลังจากอ่านบทความนี้
- คุณจะรู้จักกับ โครงสร้างควบคุม แบบเป็นลำดับ (Sequence Control Statement)

 

สำหรับน้องๆ คนไหนอยากเรียนรู้เรื่อง Flowchart ไวๆ อยากเริ่มต้นเขียนโปรแกรมได้ภายใน 1 วัน ! ทาง TUTORTONG สอนเขียนโปรแกรม มีคอร์ส Flowchart และ อัลกอริทึม สำหรับผู้เริ่มต้น สำหรับน้องๆ ที่สนใจครับผม สนใจคลิกดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ TUTORTONG คอร์ส Flowchart และ อัลกอริทึม รับรองจัดหนัก จัดเต็ม ครบทุกโครงสร้างการทำงาน แน่นอนครับ