สวัสดีครับ มาเรียน C++ กันต่อเนื่องในบทที่ 9 ในบทนี้จะมาพูดถึง ตัวดำเนินการ (Operator) ตัวแรกคือ Assignment Operator ( = ) ในภาษา C++ กันครับ คุ้นๆ ไหมครับตัวนี้ เราเคยใช้มาแล้วในบทที่ 5 การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร ในภาษา C++ นั่นเองครับ เอาล่ะครับเรามาดูกันดีกว่า ว่า Operator ตัวนี้ใช้งานยังไงกันบ้าง ^^
การนำค่าคงที่ใส่ในตัวแปรด้วย Assignment Operator
การนำค่าใส่ตัวแปร คือ การนำค่ามาเก็บไว้ในตัวแปร หลักการทำงานคือ ทำงานฝั่งขวาของเครื่องหมาย (=) ให้เสร็จ แล้วจึงนำค่าผลลัพธ์มาใส่ตัวแปรทางฝั่งซ้ายมือ ดังนั้นถ้าต้องการเก็บค่าลงในตัวแปร ให้ใช้วิธีนี้ได้เลยครับ
รูปแบบการให้ค่าตัวแปรด้วยค่าคงที่
ชื่อตัวแปร = ค่า;
variable = value;
ตัวอย่างการใช้
x = 10;
y = 15.20;
ตัวอย่างรูปแบบการทำงาน
ลองเขียน Source Code การนำค่าคงที่ใส่ในตัวแปรด้วย Assignment Operator
ขั้นที่ 1)
ทำการสร้าง Source File ใหม่ใน Dev_C++ จากนั้น ทำการ Copy Source code ลงใน พื้นที่การเขียน Source code
#include <iostream>
using namespace std;int main()
{
int num1,num2,num3;
cout << "Hello this C++ programming Lesson 9."<< endl;
num1 = 10;
num2 = 0;
num3 = 22;
cout << endl;
cout << "1st Show Data In Variable."<< endl;
cout << "Num1 : " << num1 << endl;
cout << "Num2 : " << num2 << endl;
cout << "Num3 : " << num3 << endl;
cout << endl;
cout << "2nd Show Data In Variable."<< endl;
num1 = 100;
cout << "Num1 : " << num1 << endl;
num2 = 128;
cout << "Num2 : " << num2 << endl;
num3 = 12345;
cout << "Num3 : " << num3 << endl;cout << endl;
system("pause");
return 0;
}
ขั้นที่ 2)
Save Source file ชื่อ test_assignment_op.cpp และ ทำการ Complie และ Run เพื่อดูผลลัพธ์
อธิบาย Source Code เพิ่มเติม
#include <iostream>
using namespace std;int main()
{
//ส่วนการประการตัวแปร
// ตัวแปรชนิดข้อมูลเดียวกันสามารถใช้วิธีนี้ได้
int num1,num2,num3;
cout << "Hello this C++ programming Lesson 9."<< endl;
//นำค่า 10 ใส่ในตัวแปร num1
num1 = 10;
//นำค่า 0 ใส่ในตัวแปร num2
num2 = 0;
//นำค่า 22 ใส่ในตัวแปร num3
num3 = 22;
cout << endl;
cout << "1st Show Data In Variable."<< endl;
// แสดงค่าที่ตัวแปรแต่ละตัวเก็บไว้
cout << "Num1 : " << num1 << endl;
cout << "Num2 : " << num2 << endl;
cout << "Num3 : " << num3 << endl;
cout << endl;
cout << "2nd Show Data In Variable."<< endl;
//นำค่า 100 ใส่ในตัวแปร num1
// ดังนั้น ค่า 10 จะโดนค่า 100 ทับ
num1 = 100;
// เนื่องจากปัจจุบันเก็บค่า 100 อยู่จึงแสดงค่า 100
cout << "Num1 : " << num1 << endl;
//นำค่า 128 ใส่ในตัวแปร num2
// ดังนั้น ค่า 0 จะโดนค่า 128 ทับ
num2 = 128;
// เนื่องจากปัจจุบันเก็บค่า 128 อยู่จึงแสดงค่า 128
cout << "Num2 : " << num2 << endl;
//นำค่า 12345 ใส่ในตัวแปร num3
// ดังนั้น ค่า 22 จะโดนค่า 12345 ทับ
num3 = 12345;
// เนื่องจากปัจจุบันเก็บค่า 12345 อยู่จึงแสดงค่า 12345
cout << "Num3 : " << num3 << endl;cout << endl;
system("pause");
return 0;
}
การนำค่าในตัวแปรใส่ในตัวแปรอีกตัวด้วย Assignment Operator
รูปแบบการให้ค่าตัวแปรด้วยค่าจากตัวแปรอีกตัว
ชื่อตัวแปร = ชื่อตัวแปร;
variable = variable;
ตัวอย่างการใช้
x = data1;
y = data2;
ตัวอย่างรูปแบบการทำงาน
ลองเขียน Source Code การนำค่าจากในตัวแปรใส่ในตัวแปรอีกตัวด้วย Assignment Operator
ขั้นที่ 1)
ทำการสร้าง Source File ใหม่ใน Dev_C++ จากนั้น ทำการ Copy Source code ลงใน พื้นที่การเขียน Source code
#include <iostream>
using namespace std;int main()
{
int num1 = 10,num2 = 20,num3 = 0;
cout << "Hello this C++ programming Lesson 9."<< endl;
cout << endl;
cout << "Show Data In Variable."<< endl;
cout << "Num1 : " << num1 << endl;
cout << "Num2 : " << num2 << endl;
cout << "Num3 : " << num3 << endl;
cout << endl;
cout << "Show Data In Variable."<< endl;
num1 = num2;
cout << "Num1 : " << num1 << endl;
cout << endl;
cout << "Enter Num2 : ";
cin >> num1;
num2 = num1;
cout << "Num2 : " << num2 << endl;
cout << endl;
num2 = 450;
num3 = num2;
cout << "Num3 : " << num3 << endl;cout << endl;
system("pause");
return 0;
}
ขั้นที่ 2)
Save Source file ชื่อ test_assignment_op_var.cpp และ ทำการ Complie และ Run เพื่อดูผลลัพธ์
อธิบาย Source Code เพิ่มเติม
#include <iostream>
using namespace std;int main()
{
// ประกาศตัวแปรพร้อมตั้งค่าเริ่มต้น
// ตอนนี้ num1 = 10,num2 = 20,num3 = 0
int num1 = 10,num2 = 20,num3 = 0;
cout << "Hello this C++ programming Lesson 9."<< endl;
// แสดงค่าในตัวแปร
// ตอนนี้ num1 = 10,num2 = 20,num3 = 0
cout << endl;
cout << "Show Data In Variable."<< endl;
cout << "Num1 : " << num1 << endl;
cout << "Num2 : " << num2 << endl;
cout << "Num3 : " << num3 << endl;
cout << endl;
cout << "Show Data In Variable."<< endl;
// นำค่าใน num2 ให้กับ num1
// ตอนนี้ num1 = 20,num2 = 20,num3 = 0
num1 = num2;
cout << "Num1 : " << num1 << endl;
cout << endl;
cout << "Enter Num2 : ";
// รับข้อมูลจากผู้ใช้ใส่ในตัวแปร num1
// จากตัวอย่างรับค่า 120
cin >> num1;
// นำค่าใน num1 ให้กับ num2
// ตอนนี้ num1 = 120,num2 = 120,num3 = 0
num2 = num1;
cout << "Num2 : " << num2 << endl;
cout << endl;
// นำค่า 450 ให้กับ num2
// ตอนนี้ num1 = 120,num2 = 450,num3 = 0
num2 = 450;
// นำค่าใน num2 ให้กับ num3
// ตอนนี้ num1 = 120,num2 = 450,num3 = 450
num3 = num2;
cout << "Num3 : " << num3 << endl;cout << endl;
system("pause");
return 0;}
GOTCHA !!
เอาล่ะครับเป็นยังไงกันบ้างครับกับ การให้ค่ากับตัวแปรด้วย Assignment Operator (=) ไม่ยากใช่ไหมครับ เป็นเรื่องพื้นฐานอีกเรื่องที่สำคัญมากต่อการเขียนโปรแกรม หากท่านใดยังไม่ค่อยเข้าใจ สามารถเข้ามาถามได้ที่ Fanpage TUTORTONG ได้เลยนะครับ ^^
สิ่งที่คุณจะทำได้หลังจากอ่านบทความนี้
- คุณสามารถเขียนใช้งาน Assignment Operator เพื่อทำการให้ค่ากับตัวแปรได้