รายได้พึงประเมิน 8 ประเภท คือ อะไร ? มารู้ไว้ก่อนเข้าสู่โลก ฟรีแลนซ์ กันเถอะ !

อ่านเพิ่ม...เติมความรู้ #227
มีผู้อ่าน : 2,884 คน วันนี้ : 2 คน

สวัสดีค่ะ มาพบกับ ครูสา กันอีกครั้งนะคะ ในบทความนี้จะบอกได้ว่าเป็นการ ปูพื้นฐานเรื่องภาษี กันเลยก็ว่าได้ค่ะ โดยเราจะมารู้จักกับ รายได้พึงประเมิน 8 ประเภท ซึ่งหากใครกำลังจะ ผันตัว ออกมาทำ ฟรีแลนซ์ ก็ต้องรู้จักกันไว้หน่อยนะคะ 

 

รายได้พึงประเมิน 8 ประเภท
 

คือ อะไร ?

 

เอาล่ะค่ะ คำถามนี้ต้องบอกก่อนนะคะว่า รายได้พึงประเมิน นั้น ได้ถูกแบ่งตาม " ที่มาของรายได้ " ออกเป็น 8 ประเภท ซึ่งเมื่อมีการแบ่งออกมาแล้ว รายได้พึงประเมิน แต่ละประเภทนั้น จะนำไป หักค่าใช้จ่าย ได้ไม่เท่ากัน ซึ่งเรื่อง หักค่าใช้จ่าย นั้นครูสาขอยกยอดออกไปในบทความหน้านะคะ ในบทความนี้เรามารู้จักแค่ รายได้พึงประเมินกันก็พอแล้วค่ะ จะได้ไม่เยอะไป ^^

 

รายได้พึงประเมิน ประเภทที่ 1

เงินได้ตามมาตรา 40 (1) จากการจ้างแรงงาน เงินเดือน

ตัวอย่างเช่น มนุษย์เงินเดือน อย่างเราๆ ท่านๆ ตื่นมา Sacn นิ้วมือเข้าออก ทั้งรายวัน รายเดือนเลยค่ะ

 

รายได้พึงประเมิน ประเภทที่ 2

การจ้างทำงานให้สำเร็จ มุ่งผลสำเร็จของงาน

ตัวอย่างเช่น บริการเขียน Content  กราฟฟิค งานพิธีกร อันนี้ไม่ต้องมีหน้าร้าน อิสระมากๆ แต่เราต้องรับผิดชอบตัวเองนะ รับงานมาต้องทำให้ทัน ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย นะ  

 

รายได้พึงประเมิน ประเภทที่ 3

ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิบัตร ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น ป้ายชายสี่หมี่เกี๊ยวปากซอย ค่าแบรนด์ ค่าสิทธิ์ นะคะ

 

รายได้พึงประเมิน ประเภทที่ 4

รายได้ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร จากกำไรทางธุรกิจ

ตัวอย่างเช่น เวลาปรับสมุดบัญชีเงินฝากจะมีส่วนเกินมากบ้างน้อยบ้าง นั่นล่ะค่ะ รายได้ดอกเบี้ย หรือ บางคนลงทุนในหุ้น BTS หรือ ธนาคาร มีผลกำไรโอนเข้าบัญชี เค้าเรียกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจร้า

 

รายได้พึงประเมิน ประเภทที่ 5

เงินได้ตามมาตรา 40 (5) เงินได้จากการให้เช่าสินทรัพย์ต่างๆ

ตัวอย่างเช่น ยานพาหนะ เครื่องจักร ที่ดินอาคาร สำนักงาน หรือ บ้านมือสองให้เช่า ที่ดินแปลงเล็กๆ ให้ SME เช่าทำธุรกิจ เป็นต้น

 

รายได้พึงประเมิน ประเภทที่ 6

เงินได้ตามมาตรา 40 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระต่างๆ 

ตัวอย่างเช่น คุณณภัทร เป็นผู้ทำบัญชี รับทำบัญชี ให้ SME ทั่วไป หรือ ทนายความ หรือ คุณหมอที่เปิดคลินิคที่ไม่ได้ทำงานประจำในโรงพยาบาลนะคะ ( วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ แพทย์ วิศวกรรมสถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นที่กฎหมายกำหนด )

 

รายได้พึงประเมิน ประเภทที่ 7

เงินได้ตามมาตรา 40 (7) เงินได้จาก การรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน ด้วยการจัดการสัมภาระใน ส่วนสำคัญนอกเหนือจากเครื่องมือ

ตัวอย่างเช่น การรับเหมาก่อสร้าง คุณเก่งรับงานต่อเติมกันสาด ตามหมู่บ้านจัดสรร ต้องเตรียมคนงาน รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือ วัสดุ ปูน ทราย ถ้าไม่ ครบตามที่แจ้งไว้ จะจัดขึ้นไปอยู่ประเภทที่ 2 ค่ะ

 

รายได้พึงประเมิน ประเภทที่ 8

เงินได้ตามมาตรา 40 (8) เงินได้จาก ธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขาย อสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจาก ที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7

ตัวอย่างเช่น จดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สังเกตง่ายๆ ใกล้ๆ บ้านจะมีหน้าร้าน ทำการค้าทั่วๆ ไป เล็กๆ เป็นธุรกิจ ครอบครัว ร้านขายอุปกรณ์การเรียน ร้านขายอะไหล่รถยนต์ ร้านซ่อมจักรยาน

 

เป็นยังไงบ้างคะ กับหัวข้อ รายได้พึงประเมิน 8 ประเภท ยังสงสัย รึเปล่าว่า เรานั้นอยู่ในประเภทไหน ถ้าใครมีข้อสงสัย สามารถเข้ามาสอบถามได้ที่ Fan Page https://www.facebook.com/EasyAccountByKrusa/ ของ ครูสา ได้เลยนะคะ ไว้พบกันใหม่ในบทความถัดไปค่ะ