สอน Laravel 5.7 : บทที่ 5 Route ใน Laravel

บทเรียนออนไลน์ #253
เขียนโดย :
มีผู้อ่าน : 12,249 คน วันนี้ : 2 คน

สวัสดีครับเหล่า PHP Developer ทุกท่าน จากบทความก่อนหน้านี้ คือการตั้งค่า Timezone ให้ตรงกับบ้านเรานะครับเพื่อให้เราสามารถดึง Function ที่เกี่ยวกับเวลามาใช้งานได้อย่างถูกต้อง

ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าตัว Route กันก่อนที่จะเริ่มเขียน Laravel นะครับ

 

Route คือ class ที่ใช้จัดการกับเส้นทาง เข้า-ออก ของเว็บไซต์เรา พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ เป็นตัวกำหนด Path ว่า Path นี้ให้ทำงานที่ Controller ไหน หรือ แสดง View ไหน รวมถึงสามารถระบุการส่ง Parameter ผ่านเจ้าตัว Route ได้ด้วย

 

อับดับแรกนะครับ ให้ทำการเข้าไปที่ Folder : route

 

 

จากนั้นให้ไปที่ File Web.php เพื่อจัดการกับ Route บนเว็บของเรากันครับ

 

 

จากนั้นจะเห็น Route ที่ถูกสร้างขึ้นมาแต่แรกอยู่แล้ว การทำงานของ Route ตัวนี้คือ

หาก เข้ามาที่ Path http:://localhost/foldername/public ก็จะถูกส่งไปทำงาน ที่ view

ที่มีชื่อว่า Welcome  

 

ซึ่ง view welcome ก็ถูก จัดเก็บอยู่ใน

 

 

จากนั้นให้เราทดสอบโดยการ สร้าง File  ใน Folder view และตั้งชื่อให้กับมันว่า about.blade.php

ต่อมาลองเขียนข้อความอะไรสักอย่าง ลงใน File about.blade.php

 

 

จากนั้นให้กลับไปที่ File web.php ให้ทำการเพิ่มก้อน Route ไปอีกหนึ่งตัวตามภาพ

 

 

จากนั้นลองทดสอบโดยการ รันไฟล์ laravel บน Browser แล้วตามด้วย /about ดูครับ

 

 

อธิบายคือ เมื่อพิม Path /about จะถูกส่งไปที่ view about การทำงานก็ประมาณนี้ครับ

 

ต่อมา เราจะมาการตั้งชื่อ route เพิ่มที่จะนำไปแปะไว้ใน Tag a เพื่อทำการ link ไปยัง view ต่างๆกันครับ

 

ให้เพิ่ม ส่วนนี้เข้าไปต่อจาก route about ของเรา

 

 

จากนั้นให้ไปที่ ไฟล์ welcome.blade.php ทดสอบ ใส่ tag a คลุม คำว่า laravel ดู ดังภาพ

 

 

จากนั้น แสดงผลแล้วลองคลิกดูครับ

 

 

เมื่อลองคลิกดูจะถูกส่งไปที่ หน้า about.blade.php ทันที  ^^

 

ต่อมาเราจะมาเรียนรู้การส่งค่า ผ่าน Route กัน การส่งค่าผ่าน Route มีอยู่หลายประเภทครับ ในที่นี้เราจะยกมา 4 ตัวที่ใช้กัน บ่อยๆ

 

 

Route::get ใช้ทำงานแบบเรียกใช้ปกติหรือถ้ามีการส่งค่า จะเป็นการส่งค่าผ่าน URL

Route::post ใช้ส่งค่าแบบปกติหรือถ้าเราเห็นบ่อยคือจะใช้กับ From

Route::put ใช้เมื่อเราจะส่งข้อมูลไป update หรือ แก้ไขข้อมล

Route::delete จะใช้เมื่อเราต้องการลบ ข้อมูลครับ

 


บทความต่อมาเราจะลองส่ง Parameter ผ่านเจ้าตัว Route กันนะครับ อย่าลืมติดตามพวกเรา Who do coder และขอบคุณ ที่อ่านตั้งแต่ต้นจนจบครับ แล้วพบกันใหม่ครับ ^^