สวัสดีครับ มาพบกันในบทความที่ 4 ของบทความสอน C++ ในบทนี้เราก็จะมาเรียนรู้เรื่อง ตัวแปร (Variable) กันครับ ว่าตัวแปร คืออะไร และตัวแปร มีวิธีใช้ยังไงบ้าง โดยเราจะเริ่มกันด้วย วิธีการประกาศตัวแปร เอาล่ะครับในบทนี้ก็ อ่านและลองทำตามดู พื้นๆ ไม่ยากครับ ^^
การประกาศตัวแปรใน C++
การประกาศตัวแปร คือ เขียน Source Code การกำหนดในโปรแกรมว่า เราจะทำการใช้ข้อมูลอะไรบ้างในโปรแกรมของเรา ดังนั้นหลังจากที่เราอ่านโจทย์แล้วสามารถแยกได้ว่าอะไรคือ ข้อมูล ตรงส่วนนี้เราก็สามารถทำได้สบายๆ ครับ
*** คุณผู้อ่านท่านใดยังไม่สามารถแยก ข้อมูล ออกจากโจทย์ได้กลับไปอ่าน สอน C++ : บทที่ 3 ข้อมูล ชนิดของข้อมูล และ ชนิดข้อมูลพื้นฐาน ( Primitive data type ) ก่อนนะครับ
รูปแบบการประกาศตัวแปร
ชนิดข้อมูล ชื่อตัวแปร ;
datatype variablename ;
ตัวอย่างการใช้
int x;
float number;
จากตัวอย่างที่ 1
ถ้าเราต้องการเขียนโปรแกรมบวกเลขสองจำนวน จากนั้น ทำการแสดงผลบวก
วิเคราะห์จากโจทย์
โปรแกรมนี้มีข้อมูล 3 ตัว1) ตัวเลขที่จะนำมาบวกตัวแรก -> เป็นตัวเลข อาจเป็นจำนวนเต็ม หรือ จำนวนทศนิยมก็ได้
ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นไปได้ เช่น 1 , 1.1 ,10.1 เป็นต้นint num1; หรือ float num1;
2) ตัวเลขที่จำนำมาบวกตัวที่สอง -> เป็นตัวเลข อาจเป็นจำนวนเต็ม หรือ จำนวนทศนิยมก็ได้
ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นไปได้ เช่น 2 , 2.1 ,20.1 เป็นต้นint num2; หรือ float num2;
3) ผลลัพธ์ของการบวก -> เป็นตัวเลข อาจเป็นจำนวนเต็ม หรือ จำนวนทศนิยมก็ได้
ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นไปได้ เช่น 3 , 3.1 ,30.1 เป็นต้นint result; หรือ float result;
จากตัวอย่างที่ 2
ถ้าเราต้องการเขียนโปรแกรมหาพื้นที่สี่เหลี่ยม ซึ่งใช้สูตร กว้าง x ยาว จากนั้นทำการแสดงผล
วิเคราะห์จากโจทย์
โปรแกรมนี้มีข้อมูล 3 ตัว1) ความกว้าง -> เป็นตัวเลข อาจเป็นจำนวนเต็ม หรือ จำนวนทศนิยมก็ได้
ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นไปได้ เช่น 5 , 5.1 ,50.1 เป็นต้นint width; หรือ float width;
2) ความยาว -> เป็นตัวเลข อาจเป็นจำนวนเต็ม หรือ จำนวนทศนิยมก็ได้
ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นไปได้ เช่น 6 , 6.1 ,60.1 เป็นต้นint long; หรือ float long;
3) พื้นที่ -> เป็นตัวเลข อาจเป็นจำนวนเต็ม หรือ จำนวนทศนิยมก็ได้
ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นไปได้ เช่น 30 , 30.1 ,300.1 เป็นต้นint area; หรือ float area;
เงื่อนไขการ ประกาศตัวแปร
จะต้อง ประกาศตัวแปรอยู่ภายในวงเล็บปีกกา { } ของ main() (แต่ในบทต่อๆ ไปก็จะมีวิธีอื่นๆ อีก)
#include <iostream>
using namespace std;int main()
{
int number1;
float number2;
cin.get();
return 0;
}
ชื่อตัวแปร ต้องเป็น ตัวอักษร (a - z หรือ A - Z) หรือ _ (Underscores) หรือ ตัวเลข (0 - 9) เท่านั้น แต่ห้ามขึ้นต้นตัวเลข
#include <iostream>
using namespace std;int main()
{
int number1;
float Number2;
bool _isnumber;
cin.get();
return 0;
}
ชื่อตัวแปร ต้อง ไม่ซ้ำกับ Keyword ในภาษา C++ (เรื่อง Keyword ผมจะทำการเขียนในบทต่อๆ ไป)
#include <iostream>
using namespace std;int main()
{
int number1;
float Number2;
bool _isnumber;bool continue; // Error เพราะ continue คือ Keyword
bool and; // Error เพราะ and คือ Keyword
cin.get();
return 0;
}
ชื่อตัวแปร ระหว่าง ตัวอักษรใหญ่ และ ตัวอักษรเล็ก ถือว่าเป็นคนละตัวกัน (Case Sensitive)
#include <iostream>
using namespace std;int main()
{
int number1;
int Number1;
int NUMBER1;
float Number2;
bool _isnumber;
cin.get();
return 0;
}
ลองเขียน Source Code ประกาศตัวแปร
ขั้นที่ 1)
ทำการสร้าง Source File ใหม่ใน Dev_C++
ขั้นที่ 2)
ทำการ Copy Source code ลงใน พื้นที่การเขียน Source code
#include <iostream>
using namespace std;int main()
{
int num1;
float num2;
bool isprogram;
char status;
cout << "Hello this C++ programming Lesson 4.";
cin.get();
return 0;
}
ขั้นที่ 3)
Save Source file ชื่อ test_declare_variable.cpp และ ทำการ Complie และ Run เพื่อดูผลลัพธ์
อธิบาย Source Code เพิ่มเติม
#include <iostream>
using namespace std;int main()
{
int num1; //ประกาศตัวแปร ชื่อ num1 ชนิดข้อมูลเป็น ตัวเลขจำนวนเต็ม
float num2; //ประกาศตัวแปร ชื่อ num2 ชนิดข้อมูลเป็น ตัวเลขจำนวนทศนิยม
bool isprogram; //ประกาศตัวแปร ชื่อ isprogram ชนิดข้อมูลเป็น ค่าความจริง
char status; //ประกาศตัวแปร ชื่อ status ชนิดข้อมูลเป็น อักขระ
cout << "Hello this C++ programming Lesson 4."; //แสดงผลข้อความ
cin.get();
return 0;
}
จะสังเกตได้ว่า เมื่อเรา Run ออกมา ส่วนการประกาศตัวแปรไม่ได้ถูกแสดงผลลัพธ์ออกมา นั่นก็เพราะ คำสั่งที่ใช้ในการแสดงผล คือคำสั่ง cout เท่านั้น เพราะฉะนั้นอย่าสับสนนะครับ เพราะ การประกาศตัวแปร คือการบอกโปรแกรมของเราว่า เราจะใช้ข้อมูลอะไรบ้าง เท่านั้นครับ
GOTCHA !!
เอาล่ะครับเป็นยังไงกันบ้างครับ กับพื้นฐานเรื่องตัวแปร การประกาศตัวแปร ไม่ยากใช่ไหมล่ะ ^^ ยังไงก็หัดทำหัดอ่าน เยอะๆ นะครับ จะได้เขียนโปรแกรมเป็น รับรองว่าไม่ยากเกินความสามารถ แน่นอนครับ
สิ่งที่คุณจะทำได้หลังจากอ่านบทความนี้
- คุณสามารถประกาศตัวแปรตามชนิดของข้อมูลได้