ก่อนที่เราจะมาเรียนรู้ไมโครคอนโทรเลอร์ Arduino เราควรรู้หลักการทำงานของไมโครโพรเซสเซอร์ที่อยู่ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อแยกแยะได้ถูกในการออกแบบระบบงานหรือโปรเจคว่าควรใช้อุปกรณ์ใด เนื่องจากปัจจุบันมีอุปกรณ์ขนาดเล็กลงจนสามารถสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าการ์ดได้เช่น Raspberry Pi จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกกันว่า Embedded Computer ที่สามารถต่ออุปกรณ์ได้เหมือนเครื่อง Micro Computer ได้เลยเช่น ต่อออกจอภาพ ใช้เม้าส์ , คีย์บอร์ด ฯลฯ และมีขา GPIO ซึ่งสามารถสั่งการอุปกรณ์เหมือนขา I/O ของ Micro-controller
ภาพที่ 1 Raspberry pi model B
อ้างอิงจาก http://www.pcmag.com/article2/0,2817,2407058,00.asp
Embeded Computer สามารถประมวลผลได้โดยมีระบบปฎิบัติการ (OS) แต่ในนั้นแตกต่างกัน Micro-controller มีส่วนการจัดการในตัวเองคือ bootloder มีขนาดเล็กมากทำให้เราสามารถใช้งาน Micro-controller มีราคาไม่แพงใช้ในการควบคุมที่มี
การประมวลผลไม่ยุ่งยากซับซ้อนเท่ากับ Embeded Computer เช่น ใช้ให้ Arduino ทำการรับค่าเซ็นเซอร์จากแสงแดด (LDR) ว่ามีความเข้มเท่ากับที่เรากำหนดแล้วจึงสั่งให้ประมวลผลสั่งหลอดไฟให้ติดเป็นต้น
ภาพที่ 2 การต่อวงจร Arduino และ LDR วัดค่าแสง
อ้างอิงภาพจาก http://www.varesano.net/blog/fabio/
สรุปการนำไปใช้งานในการออกแบบสมควรที่จะทำการวิเคราะห์ผลลัพธ์ในการใช้งานก่อน เพื่อลดงบประมาณในการจัดการโครงการเช่น เราจะต้องการงานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเช่น ต้องการทำ data-logger เก็บค่าความชื้นในโรงเพาะเห็ดก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ Embedded Computer เพียงใช้ Micro-controller เชื่อมแหล่งจ่ายพลังงาน,อุปกรณ์ใช้เก็บข้อมูลเช่น MiniSD card และตัวเซนเซอร์รับค่าความชื้นนั้นเพียงพอแล้ว
ในกรณีที่นำอุปกรณ์ทั้ง 2 คือ Micro-controller + Embedded Computer มาทำงานร่วมกันสามารถทำงานได้ดีกว่าการที่ใช้ Embedded Computer มาทำงานเพียงลำพังเนื่องจากมีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมหรือแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่าใช้ Micro-controller ในการรับค่าแล้วส่งมาประมวลผลที่ Embedded Computer จะทำให้แสดงผลได้ดีกว่าใช้ Micro-controller ในการรับค่าแต่ยากในการแสดงผลเนื่องจากมี I/O ที่แสดงผลออกจอภาพได้ไม่เก่งเท่า Embedded Computer จากภาพที่ 3 จะมีการแสดงผลได้ทางหน้าจอ
ภาพที่ 3 Raspberry_Pi + Arduino ใช้ในโปรเจค ROS
อ้างอิงจาก http://www.tux-lab.com/project_detail?id=15